เปิดประวัติ ตำนานผู้กำกับหนังแอ๊คชั่น “ฉลอง ภักดีวิจิตร”
ฉลอง ภักดีวิจิตร หรือชื่อจริงว่า บุญฉลอง ภักดีวิจิตร เกิดเมือวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2474 เป็นบุตรคนที่สี่จากทั้งหมดห้าคนของรองอำมาตย์โทพุฒ ภักดีวิจิตร ซึ่งรับราชการในกองแบบแผน กรมรถไฟหลวง กับมารดาชื่อลิ้นจี่ มีพี่น้องร่วมกันคือ วิจารณ์ ภักดีวิจิตร, เขียวหวาน ภักดีวิจิตร และวินิจ ภักดีวิจิตร ซึ่งพี่น้องทุกคนล้วนอยู่ในวงการสร้างภาพยนตร์ทุกคน
นอกจากนี้ยังมีน้องชายของพุฒ ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของเขา คือ สด ภักดีวิจิตร (สดศรี บูรพารมย์) ก็เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ส่วนพี่ชายอีกคน บุญศรี ภักดีวิจิตร ทำงานการรถไฟแห่งประเทศไทย อดีต วิศวกรกำกับการแผนกปรับประแจและเครื่องมือ กองโรงงานบำรุงทาง ฝ่ายการช่างโยธา
ฉลองเริ่มเห็นการทำงานด้านภาพยนตร์ของครอบครัวตั้งแต่อายุ 5 ขวบ ศึกษาที่โรงเรียนวัดสุทธิวรารามจนถึง ม.6 จากนั้น สำเร็จการศึกษาระดับเตรียมอุดมศึกษาปีที่ 2 จากโรงเรียนอำนวยศิลป์
ด้านครอบครัว
ฉลอง ภักดีวิจิตร สมรสกับสุมน ภักดีวิจิตรเมื่อปี พ.ศ. 2509 มีบุตรด้วยกันสามคนคือ เฉิด, กัญจน์ และบุญจิรา ภักดีวิจิตร[16] แต่ภายหลังสุมนเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2557 และปลายปีหลังจากที่ภรรยาเสียชีวิตนั้น ฉลองได้สมรสใหม่กับ พิมพ์สุภัค อินทรี วัย 38 ปี โดยเข้าพิธีแต่งงานที่จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม หลังจากที่ทั้งสองคบหากันตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีเดียวกัน
การทำงานช่วงแรก
ฉลอง ภักดีวิจิตรเข้าสู่วงการภาพยนตร์ด้วยการเป็นตากล้องมาก่อน โดยทำหน้าที่เป็นตากล้องถ่ายทำภาพยนตร์ตั้งแต่ยุค 16 ม.ม. จนถึง 35 ม.ม. ให้กับผู้สร้างภาพยนตร์หลายราย เช่น วัชรภาพยนตร์ ภาพยนตร์สหะนาวีไทย ธาดาภาพยนตร์ นพรัตน์ภาพยนตร นันทนาครภาพยนตร์ บูรพาศิลปะภาพยนตร์ รามาภาพยนตร์ ลดาพรรณภาพยนตร์ พิษณุภาพยนตร์ เป็นต้น ภาพยนตร์เรื่องแรก คือเรื่อง แสนแสบ ในปี พ.ศ. 2493
และยังได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง 2 ตัว สาขารางวัลผู้ถ่ายภาพยอดเยี่ยม ประจำปี 2507 จากเรื่อง ผู้พิชิตมัจจุราช ของ วัชรภาพยนตร์ นำแสดงโดย อดุลย์ ดุลยรัตน์ – อาคม มกรานนท์ – วิไลวรรณ วัฒนพานิช และในปี 2510 จากเรื่อง ละอองดาว ของภาพยนตร์สหะนาวีไทย นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี – พิศมัย วิไลศักดิ์ – อดุลย์ ดุลยรัตน์
ฉลองได้เป็นตากล้องถ่ายภาพหลายปี มีผลงานภาพยนตร์อย่างเช่น สิงห์เดี่ยว (2505) 7 ประจัญบาน (2506) เขี้ยวพิษ (2506) เก้ามหากาฬ (2507) จ้าวพยัคฆ์ (2507) อินทรีมหากาฬ (2508) มงกุฎเพชร (2508) เทพบุตรนักเลง (2508) น้ำเพชร (2508) นกขมิ้น (2508) หยกแก้ว (2508) เสือเหลือง (2509) ลมหนาว (2509) นกแก้ว (2509 สายเปล (2510) จ้าวอินทรี (2511) แท็กซี่ (2511) แมวไทย (2511) สมิงเจ้าท่า (2512) รักยม (2512) ขัง 8 (2517) ไอ้เพชร (2519) เสาร์ 5 (2519) จำเลยรัก (2521) เสือเผ่น (2524) รักพลิกล็อก (2529) แด่เพื่อนพ้องและตัวกูเอง (2532) สงคราเพลงแผน 2 (2533) เป็นต้น หลังจากนั้นฉลองได้เป็นผู้อำนวยการสร้างและถ่ายภาพให้ ภาพยนตร์ 16 ม.ม. เรื่อง น้ำเพชร นำแสดงโดย มิตร – เพชรา สร้างขึ้นในนามบางกอกการภาพยนตร์ มี ส.อาสนจินดา สร้างบทภาพยนตร์และกำกับการแสดง ออกฉายเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2508
ภาพยนตร์ที่ถือว่าสู่ตลาดต่างประเทศได้ประสบความสำเร็จคือเรื่อง ทอง (GOLD หรือ S.T.A.B.) นำแสดงโดย เกร็ก มอร์ริส (Greg Morris) พระเอกผิวสีของอเมริกา โด่งดังมาจากภาพยนตร์ซีรีส์เรื่อง ขบวนการพยัคฆ์ร้าย (Mission Impossible) โดยการติดต่อของ ดร.ดำริ โรจนเสถียร ฝ่ายจัดการต่างประเทศ และยังมีนางเอกชาวเวียดนามคือ เถิ่ม ถุย หั่ง ส่วนดาราไทยคือ สมบัติ เมทะนี, กรุง ศรีวิไล, อโนมา ผลารักษ์, ดามพ์ ดัสกร, ดลนภา โสภี, กฤษณะ อำนวยพร เป็นต้น ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้งบกว่า 10 ล้านบาท สามารถทำรายได้ทั้งในประเทศ ฉลองขายให้ฮ่องกงและไต้หวัน และโดยเฉพาะที่อเมริกา ขายให้หนึ่งล้านเหรียญ (20 ล้านบาท) นอกจากนี้ ในการประกาศ รางวัลตุ๊กตาทองประจำปี 2517 โดยสมาคมหอการค้าไทย ทองก็ได้รับ รางวัล 3 ตุ๊กตาทอง คือ รางวัลยอดเยี่ยมลำดับภาพและตัดต่อ รางวัลยอดเยี่ยมถ่ายภาพ และรางวัลยอดเยี่ยมบันทึกเสียง
ภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร (H-Bomb) ในปี พ.ศ. 2518 นำดาราฮอลลีวู๊ดคู่พระนางจากเรื่อง นักฆ่าเพลินสวาท (The Summertime Killer) นั่นคือ โอลิเวีย ฮัสซีย์ ที่โด่งดังจากจากภาพยนตร์เรื่อง โรมิโอกับจูเลียต และคริสโตเฟอร์ มิทซัม (บุตรชายของ โรเบิร์ต มิทซัม) มาแสดงคู่กับ กรุง ศรีวิไล และภาวนา ชนะจิต ร่วมแสดงโดย ไพโรจน์ ใจสิงห์, มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช, กฤษณะ อำนวยพร, เกชา เปลี่ยนวิถี
ผลงานในยุคปัจจุบัน ทางด้านงานละคร ฉลองเป็นผู้บุกเบิกละครแนวแอ็คชั่นของทางช่อง 7 สี ในนามบริษัท บางกอก ออดิโอ วิชั่น จำกัด คือ “ระย้า” และ “อังกอร์ 1” ซึ่งนำแสดงโดย พีท ทองเจือ กับ เอ็มม่า-วรรัตน์ สุวรรณรัตน์ และยังมีผลงานกำกับละครอีกมากมาย อาทิ ล่าสุดขอบฟ้า เหล็กไหล ชุมแพ ทอง 9 เสาร์ 5 นักฆ่าขนตางอน ฯลฯ
ฉลอง ภักดีวิจิตร มีผลงานกำกับภาพยนตร์ อาทิ
ลูกปลา (2512)
สอยดาวสาวเดือน (2512)
ระเริงชล (2515)
2 สิงห์ 2 แผ่นดิน (2515)
ทอง (2516)
ตัดเหลี่ยมเพชร (2518)
ไอ้เพชร (2519)
ตามฆ่า 20000 ไมล์ (2520)
ถล่มมาเฟีย (2520)
ผ่าปืน 91 (2534)
มังกรเจ้าพระยา (2537)
สุดขีดมังกรเจ้าพระยา 2 (2539)
ทอง 7 (2547)
ด้านบทภาพยนต์
ผ่าโลกบันเทิง (2527)
ด้านการถ่ายภาพ
สวรรค์วันเพ็ญ (2512)
สมิงจ้าวท่า (2512)
รักยม (2512)
รักเธอเสมอ (2513)
ขัง 8 (2517)
ไอ้เพชร (2519)
เสาร์ 5 (2519)
จำเลยรัก (2521)
เสือเผ่น(2521)
รักพลิกล็อก (2529)
แด่เพื่อนพ้องและตัวกู่เอง (2532)
สงครามเพลงแผน 2 (2533)
อำนวยการสร้าง
ระย้า (2541)
รักซึมลึก (2543)
แข่งรักนักซิ่ง (2557)
มังกรเจ้าพระยา (2563)
สมบัติมหาเฮง (2563)
ปล้นลอยฟ้า (2564)
หุบพญาเสือ (2565)ฃ
ควบคุมการผลิต
แคน 2 แผ่นดิน (2566)
ทั้งนี้ ฉลอง ภักดีวิจิตร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.) เมื่อปี พ.ศ. 2558
การเสียชีวิต
เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2567 นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้รับการประสานงานจากนางบุญจิรา ตรีริยะ บุตรสาวของฉลอง ภักดีวิจิตร โดยเปิดเผยว่า “นายบุญฉลอง ภักดีวิจิตร ถึงแก่กรรมอย่างสงบ ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี เวลาประมาณ 15.30 น.
ขอบคุณข้อมูล-ภาพ