หน้าแรกพระราชสำนักหัวเว่ย ประเทศไทย น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายอุปกรณ์เทคโนโลยีห้องเรียนอัจฉริยะ พร้อมนำโครงการดิจิทัลบัสสู่สุรินทร์ มุ่งลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาในพื้นที่ถิ่นทุรกันดาร

หัวเว่ย ประเทศไทย น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายอุปกรณ์เทคโนโลยีห้องเรียนอัจฉริยะ พร้อมนำโครงการดิจิทัลบัสสู่สุรินทร์ มุ่งลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาในพื้นที่ถิ่นทุรกันดาร

กดที่นี่เพื่ออ่านข่าว

หัวเว่ย ประเทศไทย น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายอุปกรณ์เทคโนโลยีห้องเรียนอัจฉริยะ

พร้อมนำโครงการดิจิทัลบัสสู่สุรินทร์ มุ่งลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาในพื้นที่ถิ่นทุรกันดาร

 

สุรินทร์, 18 กันยายน 2567 – บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เดินหน้าผสานความร่วมมือกับโครงการส่วนพระองค์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ดำเนินงานโครงการความร่วมมือด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มโอกาสทางการศึกษา รวมถึงการพัฒนาสุขภาพอนามัยที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน พร้อมทั้งสานต่อกิจกรรมโครงการ ”รถดิจิทัลบัสเพื่อสังคม” ในวโรกาสสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงติดตามงาน ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บ้านชำปะโต อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ เพื่อส่งมอบองค์ความรู้และพัฒนาทักษะทางดิจิทัลแก่เด็กและเยาวชนในพื้นที่ห่างไกล

 

ทั้งนี้นายเอดิสัน สวี่ กรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และคณะ ได้ร่วมกราบบังคมทูลรายงานความก้าวหน้าโครงการดังกล่าว พร้อมทั้งจัดให้มีการสาธิตการเรียนการสอนระบบห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) ผ่านระบบวีดีโอประชุมออนไลน์ (Huawei Cloud Meeting) ร่วมกับโรงเรียนพี่ โรงเรียนน้อง พร้อมเชิญทอดพระเนตรการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนบนรถดิจิทัลบัส

 

โอกาสนี้ บริษัทหัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) ประกอบด้วย แท็บเล็ตหัวเว่ยจำนวน 40 ชิ้น อุปกรณ์เราเตอร์หัวเว่ย 2 ชิ้น อุปกรณ์หน้าจออัจฉริยะ (IdeaHub) 1ชุด พร้อมระบบประชุมทางไกล (Huawei Cloud Meeting) แด่โครงการส่วนพระองค์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อสนับสนุนโครงการตามพระราชดำริ ด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ถิ่นทุรกันดารให้เข้าถึงโอกาสด้านการศึกษาอย่างเท่าเทียม

โดยในปีนี้ หัวเว่ยได้น้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในหลักสูตรบนดิจิทัลบัสให้เข้ากับโรงเรียนในพื้นที่มากยิ่งขึ้น เช่น การเรียนรู้เทคโนโลยีอย่างเท่าเทียม ส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมีความรับผิดชอบ 5G, IoT, Cloud, AI และวิธีป้องกันภัยต่อตนเองและคนรอบข้าง ให้ความรู้ประเภทของอาชญากรรมไซเบอร์ สร้างความตระหนักรู้ในการท่องโลกโซเชียล รวมทั้งสร้างความตระหนักรู้ต่อพลังงานสะอาด เทคโนโลยีหมุนเวียนและพลังงานสีเขียว ส่งเสริมการพัฒนาสู่ชุมชนอีกด้วย

 

“ที่หัวเว่ย เราเชื่อว่าการเข้าถึงเทคโนโลยีเป็นกุญแจสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำ และเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้กับเยาวชนในพื้นที่ห่างไกล โครงการรถดิจิทัลบัสเพื่อสังคมเป็นอีกหนึ่งในความมุ่งมั่นของเราที่จะสร้างสังคมดิจิทัลที่ยั่งยืน โดยการนำความรู้และนวัตกรรมไปสู่ทุกชุมชนในประเทศไทย เรามุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการศึกษาและพัฒนาทักษะดิจิทัลให้กับเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นอนาคตของประเทศ” นายเอดิสัน สวี่ กล่าว

 

ภายหลังจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทอดพระเนตรการสาธิตการเรียนการสอนห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) เสร็จสิ้น ทรงพระราชทานพระราชวโรกาส ทรงพระอักษรพู่กันจีน ลงนามเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ ในการสนองงานด้านการศึกษาและการช่วยเหลือสังคม ร่วมกันใช้นวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีเป็นสื่อในการสืบทอดหลักคุณธรรมผ่านปัญญาแห่งดิจิทัล เพื่อความเท่าเทียมในสังคมและนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้น้อมนำพระราชดำริของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มาดำเนินงานโครงการส่งเสริมการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อโลกสีเขียวที่ยั่งยืน สอดคล้องกับพันธกิจของหัวเว่ยในการดำเนินธุรกิจและส่งเสริมสังคมไทยตลอด 25 ปี

ทั้งนี้ในการดำเนินงานที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ร่วมกับโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี IdeaHub จำนวน 24 เครื่อง พร้อมระบบ Huawei Cloud Meeting สำหรับจัดการเรียนการสอนทางไกล (แบบสื่อสาร 2 ทาง) และสำหรับการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) พร้อมทั้งสนับสนุนระบบกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ ตามโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และสุขศาลาโรงพยาบาลท้องถิ่น ทั่วประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารอย่างต่อเนื่อง

 

นอกจากโครงการดังกล่าว หัวเว่ย ประเทศไทย ยังได้ดำเนินการฝึกอบรมเพื่อให้ประชาชนทั่วไปและเยาวชนได้มีความรู้ความเข้าใจทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการ Huawei ASEAN Academy, โครงการ ICT Academy และโครงการ Seeds for Future

 

 

เกี่ยวกับหัวเว่ย

หัวเว่ย คือผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และสมาร์ทดีไวซ์ ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2530 โดยหัวเว่ยมีพนักงานกว่า 207,000 คน ดำเนินธุรกิจในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก ให้บริการผู้คนมากกว่า 3,000 ล้านคนทั่วโลก

วิสัยทัศน์และพันธกิจของหัวเว่ย คือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่การใช้งานทุกระดับเพื่อทุกผู้คนทุครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อวางรากฐานให้แก่โลกอัจฉริยะ หัวเว่ยได้ส่งมอบการประมวลผลคอมพิวเตอร์หลากหลายรูปแบบทุกที่ ทุกเวลาที่คุณต้องการ เพื่อนำเทคโนโลยีคลาวด์และความอัจฉริยะเข้าสู่ทั่วทุกมุมโลก สร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลที่จะช่วยทุกภาคอุตสาหกรรม ทุกองค์กร ให้มีความยืดหยุ่น มีประสิทธิภาพ และมีพลวัตร รวมทั้งสร้างนิยามใหม่ให้แก่ประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ด้วย AI เพื่อเสริมสร้างความชาญฉลาดและออกแบบให้ตอบรับกับความต้องการเฉพาะของผู้คนในทุกแง่มุมของชีวิต ทั้งการใช้ชีวิตที่บ้าน ระหว่างการเดินทาง ที่ออฟฟิศ ในการสันทนาการ หรือแม้แต่ระหว่างการออกกำลังกาย

Ad 1
Ad 2