หน้าแรกภูมิภาคผวจ.อุบลฯ ร่วมประชุม กับกอปภ.ช. เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ จุดเสี่ยง

ผวจ.อุบลฯ ร่วมประชุม กับกอปภ.ช. เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ จุดเสี่ยง

กดที่นี่เพื่ออ่านข่าว

ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลฯ ร่วมประชุมกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (กอปภ.ช.) ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ จุดเสี่ยง 5 อำเภอ 10 ตำบล 40 หมู่บ้าน จุดอพยพ 32 แห่ง

วันที่ 15 ก.ย.67 เวลา 09.30 น. นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นายชัชวาลย์ เบญจสิริวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ผู้อำนวยการกรมชลประทานอุบลราชธานี ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 13 ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุบลราชธานี และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (กอปภ.ช.) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ZOOM)

ที่ ห้องประชุมสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุม น.ส.ศุภมาศ อิศรภัคดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.)และนางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รมช.มหาดไทย เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ เตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์อุทกภัย และกระจายข้อมูลข่าวสาร สั่งการ ประสานงาน กับหน่วยงานต่างที่เกี่ยวข้องเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชน พร้อมทั้งแจ้งข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีในการให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนรวมถึง การเยียวยาครัวเรือนที่ได้รับความเสียหาย

สำหรับจังหวัดอุบลราชธานี สถานการณ์แม่น้ำโขงในพื้นที่ ปัจจุบัน มีจุดเสี่ยง 5 อำเภอ 10 ตำบล 40 หมู่บ้าน จุดอพยพ 32  แห่ง

1.อำเภอโขงเจียม ระดับตลิ่งแม่น้ำมูล  13.50ม.ระดับเช้าวันที่ 15ก.ย.67   11.70ม.

ต่ำกว่าตลิ่ง  1.80 ม.เพิ่มขึ้น จากเมื่อวาน 0.90 ม.ระดับน้ำเช้าวันที่ 14 กย. 67 10.80ม.

มีจุดเสี่ยงจำนวน 2 หมู่บ้าน 2 ตำบล คือ 1) บ้านห้วยหมาก ม.2 ต.ห้วยไผ่ จุดอพยพ อบต.ห้วยไผ่

บ้านด่านใหม่ (บางส่วน) ต.โขงเจียม จุดอพยพ หอประชุมอำเภอโขงเจียม

2.อำเภอนาตาล ระดับเช้าวันที่ 15 ก.ย. 67 เวลา 06.30 น.น้ำต่ำกว่าตลิ่ง 4.20 ม. เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน  80 ซ.ม. จุดเสี่ยงมีจำนวน 8 หมู่บ้าน 2 ตำบลซึ่งอยู่ในเขต อบต พะลาน 4 หมู่บ้าน และเขต อบต.นาตาล 4 หมู่บ้าน มีจุดอพยพ 4 แห่ง

1.บ้านนาทราย ม.2 ต.พะลาน

2.บ้านปากแซง ม.3 ต.พะลาน

3.บ้านนาดง ม.8 ต.พะลาน

4.บ้านนาหินโหง่น ม.9 ต.พะ-ลาน

(ทั้ง 4 หมู่บ้าน มีพื้นที่อพยพอยู่ที่ โรงเรียนพะลานวิทยาและที่ทำการ อบต.พะลาน)

5.บ้านคันพะลาน ม.4 ต.นาตาล

6.บ้านดอนงิ้ว ม.9 ต.นาตาล

7.บ้านโนนตาล ม.10 ต.นาตาล

8.บ้านโนนบก ม.15 ต.นาตาล

(มีพื้นที่อพยพทั้ง 4 หมู่บ้าน อยู่ที่ที่ทำการ อบต.นาตาล และ ที่หอประชุมอำเภอนาตาล)

3. อำเภอศรีเมืองใหม่ มี 1 หมู่บ้าน 1 ตำบล คือบ้านดงนา ตำบลหนามแท่ง ติดแม่น้ำโขงหมู่บ้านเดียว จุดอพยพหรือศูนย์พักพิงชั่วคราว  1 แห่ง ได้กำหนดไว้ที่วัดสวนหินผานางคอย

4.อำเภอเขมราฐ มี 2 ตำบล 17 หมู่บ้าน จุดอพยพ 9 แห่ง ที่มีชุมชนตั้งริมฝั่งติดลำน้ำโขง ดังนี้

ตำบลเขมราฐ จำนวน 9 หมู่บ้าน จุดอพยพ/พักพิง 5 แห่ง

หอประชุมที่ว่าการอำเภอเขมราฐ และวัดป่าประชาเกษม

1.บ้านเหนือ ม. 1

2.บ้านเขมราฐ ม.7

3.บ้านโนนนารี ม.8

4.บ้านหนองวิไล ม.11

จุดอพยพ/พักพิง เทศบาลตำบลเทพวงศา และวัดป่าดงน้อย

5.บ้านนาสนาม ม.3

6.บ้านแก้งเกลี้ยง ม.4

7.บ้านอูบมุง ม.5

จุดอพยพ/พักพิง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภูหินฮาว

8.บ้านบุ่งซวย ม.2

9.บ้านห้วยยาง ม.10

ตำบลนาแวง จำนวน 5 หมู่บ้าน จุดอพยพ 4 แห่ง

จุดอพยพ/พักพิง วัดบ้านโพธิ์เมือง

10.บ้านนาเมือง ม.3

11.บ้านโพธิ์เมือง ม.9

จุดอพยพ/พักพิง วัดบุ่งขี้เหล็ก

12.บ้านบุ่งข้อง ม.1

13.บ้านบุ่งขี้เหล็ก ม.4

จุดอพยพ/พักพิง อบต.นาแวง

14.บ้านนาแวง ม.2

15.บ้านนาแวงใหม่ 12

จุดอพยพ/พักพิง วัดหินดาน

16.บ้านลาดหญ้าคา ม. 5

17.บ้านลาดเจริญ ม.10

5.อำเภอโพธิ์ไทร 12 หมู่บ้าน 3 ตำบล จุดอพยพ 16 แห่ง รายระเอียด ดังนี้

– ตำบลสองคอน จำนวน 4 หมู่บ้าน

1 บ้านสองคอน

2 บ้านนาพะเนียงออ

3 บ้านจอมปลวกสูง

– ตำบลเหล่างาม

1 บ้านคำจ้าว

2 บ้านโป่งเป้า

3 บ้านพรสวรรค์

– ตำบลสำโรง

1 บ้านสำโรง

2 บ้านร่องคันแยงน้อย

3 บ้านผาชัน

4 บ้านสะเองทอง

ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้สั่งการณ์ให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการซักซ้อม เพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำโขง และแม่น้ำมูลที่เพิ่มสูงขึ้น โดยจัดเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อุทกภัยจังหวัด ประสาน การปฎิบัติและสั่งการตลอด 24 ชั่วโมง จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ระดับน้ำ และประชาสัมพันธ์ระดับน้ำและแจ้งเตือนประชาชน เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ จัดจุดอพยพ จัดเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ กำลังพลพร้อมปฏิบัติให้ความช่วยเหลือ

ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยติดตามพยากรณ์อากาศ ข้อมูลข่าวสาร และการแจ้งเตือนภัยจากทางราชการอย่างใกล้ชิด หากมีประกาศหรือคำเตือนขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด หากพบเห็นหรือได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์อุทกภัยสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือได้ทาง Line Official Account “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือต่อไป.

Ad 1
Ad 2
pratipon47
pratipon47http://www.เรื่องจริงผ่านเลนส์.online
ผู้สื่อข่าวประจำกองบรรณาธิการ