นางภาวิณี รุ ่งทนต์กิจ รองผู ้อำนวยการสำนักอนามัย รักษาราชการแทนผู ้อำนวยการ สำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวถึงความคืบหน้าการขับเคลื ่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื ้นที่ กรุงเทพฯ ว่า กทม. ได้บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานในพื ้นที ่ โดยดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ปีงบประมาณ 2568 ซึ ่งมีหน่วยงานดำเนินการร่วมกับ กทม. ตามแนวทาง 4 มิติ ได้แก่ มิติด้านป้องกันยาเสพติด (ในสถานศึกษา ชุมชน สถานประกอบการ) โดยร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามยาเสพติดกรุงเทพมหานคร (ปปส.กทม.) มิติด้านปราบปราม โดยร่วมกับ บช.น. และ ปปส.กทม. มิติด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด โดยร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) บช.น. และ ปปส.กทม. และมิติด้านการบริหารจัดการ โดยร่วมกับ บช.น. และ ปปส.กทม. อีกทั ้งมีกลไกการกำกับติดตามการดำเนินงาน ผ่านศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กทม. โดยมีผู ้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู ้อำนวยการ ซึ่งกำหนดให้จัดประชุมทุกเดือน เพื่อติดตามเร่งรัดการดำเนินงานตามเป้าหมายและตัวชี้วัดที่กำหนด นอกจากนี้ ได้มีแนวทางการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี ่ยวกับโทษพิษภัยและอันตรายของ ยาเสพติดประเภทต่าง ๆ รวมถึงยาเสพติดรูปแบบใหม่ โดยสอดแทรกผ่านกิจกรรมในชั ้นเรียนตามช่วงวัย ที ่เหมาะสม โดยระดับปฐมวัย ได้ใช้หลักสูตรพัฒนาทักษะทางสมอง EF (Executive Function) แก่เด็กปฐมวัย อายุช่วง 3-5 ปี โดยสนับสนุนชุดสื่อพัฒนาทักษะทางสมองให้แก่สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน ศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. 69 แห่ง เพื ่อนำไปพัฒนาให้แก่อาสาสมัครที่รับผิดชอบการให้ความรู ้แก่เด็กในช่วงวัยดังกล่าว ซึ ่งเป็นวัยที ่มี พัฒนาการทางสมองมากที่สุด สำหรับระดับประถมศึกษาได้ให้ความรู้การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด ใช้แนวคิด ศูนย์ศึกษาชีวิต (Life Education Centre) เป็นการให้การศึกษาในระยะยาวอย่างต่อเนื ่อง โดยเริ ่มตั ้งแต่ปฐมวัย จนย่างเข้าสู ่วัยรุ ่น (6 – 12 ปี) ดังนั ้น การจัดหลักสูตรการให้ความรู ้จึงแตกต่างกัน เพื ่อความเหมาะสมกับช่วงวัย และระดับการศึกษาของผู ้เรียน และจัดกิจกรรมผ่านศูนย์ SDLC (SELF DISCOVERY LEARNING CENTER) ที ่เหมาะสมกับวัย 3-15 ปี ภายใต้กรอบความรู ้ “เรียนเล่น เรียนรู ้ สู ่การค้นหาคุณค่าตนเอง” ปัจจุบันดำเนินการ รับนักเรียนตั ้งแต่ระดับชั ้นปฐมวัย ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาปีที ่ 1-3 ทั ้งในและนอกสังกัด กทม. ส่วนระดับชั ้นมัธยมศึกษา มีระบบการคัดกรองนักเรียน โดยใช้แบบประเมินภูมิคุ ้มกันยาและสารเสพติด โรงเรียนสังกัด แบ่งนักเรียนเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มภูมิคุ้มกันปกติ กลุ่มภูมิคุ้มกันต่ำ และกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการใช้ ยาและสารเสพติด ซึ ่งได้จัดกระบวนการเรียนรู ้ให้เหมาะสมกับกลุ ่มเป้าหมาย ตลอดจนโรงเรียนสังกัด กทม. ได้จัดตั ้งชมรม TO BE NUMBER ONE และศูนย์เพื ่อนใจ TO BE NUMBER ONE เพื ่อสนับสนุนการป้องกันและ แก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
กทม. บูรณาการทุกภาคส่วนเดินหน้ามาตรการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติดใน 4 มิติ
38