หน้าแรกภูมิภาคสุพรรณบุรีรณรงค์ลดงดเผาฟางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ 

สุพรรณบุรีรณรงค์ลดงดเผาฟางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ 

กดที่นี่เพื่ออ่านข่าว

สุพรรณบุรีรณรงค์ลดงดเผาฟางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ

ที่ วัดนางพิมพ์ ตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรีร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอทั้ง 10 อำเภอ ได้จัดรณรงค์การลดการเผาฟางข้าว” ภายใต้โครงการ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ ปลอดภัยได้มาตรฐานและแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยมีนายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานพิธีเปิด มีนายวสันต์ จี้ปูคำเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ มีนายสุระบัณฑิต กันยานะ นายอำเภอสามชุก นางบำรุงรัทย์ ขันทอง เกษตรอำเภอสามชุก พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรและเกษตรกรทั้ง 10 อำเภอ ผู้นำชุมชน ครู นักเรียน ผู้ประกอบการ บริษัทสยามคูโบต้า ร่วมกิจกรรม

จังหวัดสุพรรณบุรี มีพื้นที่ปลูกข้าวจำนวน 1,281,476 (หนึ่งล้านสองแสนแปดหมื่นหนึ่งพันสี่ร้อยเจ็ดสิบหก) ไร่ จำนวนเกษตรกร 65,723 ราย เกษตรกรผู้ทำนาส่วนใหญ่ยังมีการเผาทำลายเศษวัสดุที่เหลือจากการทำนาซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน จังหวัดสุพรรณบุรี จึงได้จัดงาน“ประชาสัมพันธ์การรณรงค์การลดการเผาฟางข้าว” ภายใต้โครงการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ ปลอดภัยได้มาตรฐาน และแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร และส่งเสริมการลดการเผาในพื้นที่การเกษตร

กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการถ่ายทอดความรู้ กระบวนการทำนาข้าวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย นางสวณีย์ โพธิ์รัง ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี การบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดย เจ้าหน้าที่ผลิต บริษัท มิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ จำกัด นิทรรศการจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ประกอบไปด้วย ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 9 จังหวัดสุพรรณบุรี สถานีพัฒนาที่ดิน จังหวัดสุพรรณบุรี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บริษัทที.เจ.ซี. เคมีจำกัด บริษัททีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) บริษัท คูโบต้า สรรค์วิทยุ 2009 สุพรรณบุรี กิจกรรมสาธิต ประกอบด้วยการเก็บเกี่ยวข้าว การใช้เทคโนโลยี ภูมิปัญญาชาวบ้านโดยการอัดฟางและไถกลบตอซัง มีเกษตรกร และผู้เกี่ยวข้องร่วมงานกว่า 300 ราย

;
;

ภัทรพล พรมพัก สุพรรณบุรี

 

Ad 1
Ad 2