โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 23–30 ตุลาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,330 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการรับมือฝุ่น PM 2.5 จากการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับวิธีการลดการรับฝุ่น PM 2.5 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 98.35 ระบุว่า ใช้หน้ากากอนามัย มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 54.29 ระบุว่า ปิดประตูหน้าต่าง ร้อยละ 48.37 ระบุว่า ลดกิจกรรมนอกอาคาร และร้อยละ 27.81 ระบุว่า ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ เมื่อสอบถามเกี่ยวกับความสำคัญของการลดฝุ่น PM 2.5 อย่างยั้งยืนตามความคิดเห็นของประชาชน พบว่า ร้อยละ 78.67 ระบุว่า มีความสำคัญอยู่ในระดับมาก มากที่สุด รองลงมาคือ ร้อยละ 14.29 ระบุว่า มีความสำคัญอยู่ในระดับปานกลาง และร้อยละ 7.04 ระบุว่า มีความสำคัญอยู่ในระดับน้อย น้อยที่สุด เมื่อสอบถามแนวทางลดฝุ่น PM 2.5 ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดตามความคิดเห็นของประชาชน พบว่า ร้อยละ 45.33 ระบุว่า การควบคุมการปล่อยมลพิษจากยานพาหนะ มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 33.41 ระบุว่า การจัดการปัญหาการเผาในที่โล่งแจ้ง และร้อยละ 21.26 ระบุว่า การควบคุมการปล่อยมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม และเมื่อพิจารณาหน่วยงานที่ประชาชนคาดหวังให้เข้ามาลดฝุ่น PM 2.5 มากที่สุด พบว่า ร้อยละ 34.33 ระบุว่า กรมควบคุมมลพิษ มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 30.45 ระบุว่า กรมการขนส่งทางบก ร้อยละ 24.71 ระบุว่า กระทรวงอุตสาหกรรม และร้อยละ 10.51 ระบุว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดร.ธนเสฎฐ์ อัคคัญญ์ภูดิส
อาจารย์ประจำสำนักวิจัยสยามเทคโนโพล
โทรศัพท์ มือถือ 089-474-9514
สำนักวิจัยสยามเทคโนโพล วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม โทรสาร02-878-5002
E-mail:[email protected]